ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่....รพ.สต.บือมัง....ดินแดนแห่งความหลากหลายทางเทือกเขา

เกี่ยวกับเรา



 
ตำบลบือมัง

ตำบลบือมัง เป็นตำบลหนึ่งใน 16 ตำบลของ
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามัน
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 14  กิโลเมตร มีพื้นที่
ทั้งหมด 32.45  ตารางกิโลเมตร  มีประวัติความเป็นมา 
คำว่าบือมัง  หรือบูแม  เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง
มีลำต้นขนาดใหญ่ ใบสีเขียว มีดอกเป็นแฉกๆ ออกตาม
ฤดูกาล รสฝาด รับประทานได้

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ตำบลบือมัง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน สภาพเป็นภูเขา  และที่ราบสูงตามเทือกเขากาลอ 
มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ  มีการจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร
(สปก 4-01)  พื้นที่ราบ ประมาณ  40% 
ของตำบล  การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่จะปลูกพืชยืนต้น  เช่น  ยางพารา  ไม้ผล  และทำนาตำบลบือมัง ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนวัดได้ เฉลี่ย 2967.2 มม. ปริมาณฝนตกสูงสุดวัดได้ในช่วงเดือน  ธันวาคม 790  มิลลิเมตร  และปริมาณน้ำฝนต่ำสุดในช่วงเดือน  กุมภาพันธ์  วัดได้เฉลี่ย  85  มิลลิเมตร

ที่ตั้งของตำบล
ตำบลบือมัง  อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอรามัน  อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดยะลาประมาณ  20 กิโลเมตร

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านตะโละเลาะ                     มีพื้นที่  5,312 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านบือมัง                            มีพื้นที่  3,434 ไร่        
หมู่ที่ 3 บ้านดูซงตาวา                        มีพื้นที่  7,800 ไร่
หมู่ที่ 4 บ้านมาแฮ                            มีพื้นที่  1,379 ไร่
หมู่ที่ 5 บ้านปงตา                            มีพื้นที่  2,187 ไร่
หมู่ที่ 6 บ้านเกี๊ยะ                            มีพื้นที่  2,687 ไร่

ศาสนา
        ประชากรตำบลบือมัง นับถือศาสนาอิสลาม 100 % โดยมีมัสยิดและสุเหร่าเป็นศาสนสถานสำหรับการ
ประกอบพิธีทางศาสนา
อาชีพ   ชาวบ้านตำบลบือมัง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา  เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา
ลักษณะทั่วไป
·       เนื้อที่ประมาณ  22,799 ไร่
·       จำนวนครัวเรือน 1,050  ครัวเรือน  (ข้อมูล จปฐ ปี 2554 )
·       จำนวนประชากรทั้งหมด  5,426 คน  (ชาย 2,677 คน  หญิง2,749 คน )
(ข้อมูล  ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554)
เกษตรกรรม
ประชากรตำบลบือมัง ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพ ได้แก่ การทำเกษตรกรรม ด้านพืช  การผลิตของเกษตรกรปลูกพืชหลากหลายชนิด เพราะสภาพพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก รายได้หลักของประชากรมาจากการทำสวนยาง และสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน ลองกอง เงาะ มะพร้าว สะตอ ส้มแขก ส่วนการปลูกพืชไร่มีเพียงเล็กน้อย และมีการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคเป็นส่วนใหญ่
-                   ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลบือมัง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6369 ไร่
-                   ข้าว เป็นพืชที่มีการปลูกมากเป็น อันดับ 2 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,167 ไร่ เกษตรกรนิยมทำนา
ปีละ
1 ครั้ง
-                   ไม้ผล ที่นิยมปลูกและสร้างรายได้ ส่วนใหญ่ได้แก่
          ลองกอง เป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันมาก เป็นพืชที่มีความเหมะสมกับภูมิประเทศ มีพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 1,089 ไร่
          ทุเรียน  มีพื้นที่ปลูกประมาณ 958 ไร่

ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากาลอ
เทือกเขากาลอเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อน มีเนื้อที่ประมาณ  42,000  ไร่  ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอรามัน  ด้วยภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน มีความอุดมสมบูรณ์ปกคลุมด้วยพันธ์พืชหลากหลายชนิด  เป็นต้นกำเนิดลำธารหลายสายเป็นแหล่งอาหาร  แหล่งเก็บของป่าและสมุนไพร   ของชุมชน

ประเพณี/วัฒนธรรม
          วันฮารีรายอ
          วันฮารีรายอ  จะมีขึ้นหลังจากมีการถือศีลอด ภาษาอาหรับเรียกว่า  ศิยาม ภาษามลายู เรียกว่า  ปัวซา หรือ ปอซอ  มีขึ้นในเดือนที่  ของฮิจเราะห์ศักราช คือ  เดือนรอมาฎอนของทุกๆปี  เมื่อสิ้นสุดการถือศีลอด จะมีประเพณีฮารีรายอขึ้น  เรียกว่าวันฮารีรายอออิดิลฟิตรี  เป็นวันเฉลิมฉลองของมุสลิม  ตามความเป็นจริงแล้ว  ประเพณีวันฮารีรายอ  ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของคนมุสลิมในประเทศไทย     แต่จะเป็นวันแห่งความสุข  วันแห่งความยิ่งใหญ่ของมุสลิมทั่วโลก  ร่วมกันเฉลิมฉลอง  แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของศาสนาอิสลาม  และสนับสนุนให้ชาวมุสลิมถือศิลอดอีก  วัน  เพื่อเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น
                   นอกจากวันฮารีรายอ จะมีวันสำคัญอีกวันหนึ่ง  เรียกว่าวันฮารีรายออิดิลอัฏฮา หรือ ฮารีรายอฮัจญี  จะกำหนดขึ้นหลังจากที่ได้มีการถือศิลอดในวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะห์  ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีฮัจของชาวมุสลิม  ณ  บัยตุลลอฮ  แห่งเมืองมักกะห์  ประเทศซาอุดีอาระเบีย  คือ วันที่ 10  ของเดือนซุลฮิจญะห์  เป็นวันเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมด้วยเชือดสัตว์  เช่นเดียวกันชาวบือมังจะทำการเชือดสัตว์แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากจน  บางครอบครัวจะนำเนื้อสัตว์ที่เชือดพลีเพื่ออัลลอฮที่เรียกว่า  กุรบาน ทำสุกแล้ว  เชิญคนยากจน หรือเพื่อน  ญาติ  และคนอื่นๆให้กินเลี้ยงที่บ้าน
ประเพณีเมาลิด
          ประชาชนบือมังมีการจัดประเพณีวันเมาลิดในเดือนรอบีอุลเอาวัล  ของฮิจเราะห์ศักราชของทุกๆปี  เนื่องจากเดือนรอบีอุลเอาวัล  เป็นเดือนประสูติของท่านนบีมูฮัมหมัด  ศ็อลล้อลลอฮ  อาลัยฮีวะสัลลัม(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ดังนั้นเพื่อแสดงถึงความรักใคร่ต่อท่านนบี  จึงจัดประเพณีงานเมาลิดขึ้น 
ประเพณี  การกินนาซิบารู
          ชาวบือมังส่วนใหญ่มีอาชีพกรีดยางเป็นอาชีพหลัก  และมีการทำนา  เมื่อใดที่เข้าช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี  ก่อนที่รับประทานข้าวสารใหม่ที่เพิ่งเสร็จจากการเก็บเกี่ยวนั้น  จะมีการทำประเพณี   นาซิบารู  ประเพณีนาซิบารู  ซึ่งแปลว่า ข้าวสารใหม่ ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะมีกรรมวิธีจัดอาหารเพื่อเลี้ยงแขก  จะมีการเชิญบรรดาผู้นำศาสนาหรือผู้รู้ศาสนาได้แก่  โต๊ะอิหม่าม  โต๊ะครู  เป็นต้น  พร้อมเชิญชาวบ้านในละแวกนั้นมาร่วมรับประทานอาหารนั้น  จะมีการขอดุอา(ขอพร)ก่อน  จากนั้นจึงเริ่มรับประทานอาหาร
          เหตุที่ชาวบ้านบือมังปฏิบัติประเพณีนาซิบารูขึ้นมา  เนื่องจากพวกเขามีความเชื่อว่า  เป็นการขอดุอา
(ขอพร) จากอัลลอฮ. (.) ให้มีความสิริมงคลในการรับประทานข้าวสารใหม่ในแต่ละปี  และเพื่อให้การทำนาปีต่อๆไปนั้นมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น  และมีความบะรอกะฮ์  ถ้าไม่มีประเพณีนี้แล้วอาจจะส่งผลถึงผลผลิตในการทำนาในปีต่อๆไปอีกด้วย
กลุ่มหัตถรรมบ้านบือมัง
การประดิษฐ์กรงนก
          การทำกรงนกเป็นงานหัตถกรรมที่ละเอียดอ่อน  ประณีต  ทำภายในครัวเรือน  เพื่อใช้สอย     
และเพื่อขาย  กลายเป็นอาชีพเสริมจากอาชีพหลัก
         
การสานเสื่อ
          ตำบลบือมัง มีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นา 
มีต้นเตยขึ้นเป็นหย่อมๆชาวบ้านจึงคิดวิธีการนำใบเตยมา
ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นภูมิปัญญาชนิดหนึ่ง 
ซึ่งผู้ที่สามารถนำใบเตยไปประดิษฐ์  ส่วนใหญ่จะเป็น
คนเฒ่าคนแก่  สานเป็นเสื่อ  หมวก  ซูเป๊ะ  ที่รองก้นหม้อ 
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนำใบเตยมาใช้สอย หรือนำมาประดิษฐ์
ใช้  ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อ  เพราะต้องการความสะดวก
ศิลปะการละเล่น
ศิลปะการมัดตัว
          การมัดตัวถือว่าเป็นศิลปะชนิดหนึ่งที่ได้รับการล่ำลือของชาวตำบลบือมัง  ซึ่งศิลปะการมัดตัวเป็นการละเล่นที่ใช้ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว  คนที่มีพรสวรรค์ด้านนี้เท่านั้นที่สามารถทำได้  และไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้  ปัจจุบันการแสดงศิลปะการมัดตัวเป็นที่รู้จักของจังหวัดชายแดนภาคใต้   นราธิวาส  ยะลา  ปัตตานี 
ด้านปศุสัตว์
          ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนเพื่อการบริโภค และขายเป็นรายได้ในครอบครัว สัตว์ที่เลี้ยงจะเป็นสัตว์พื้นเมืองเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โค กระบือ แพะ เป็ด ไก่  เป็นต้น
ด้านการประมง
          ตำบลบือมังมีพื้นที่เหมาะแก่การเลี้ยงปลา เนื่องจากระดับน้ำใต้ดอนอยู่ตื้นประมาณ 1.5 เมตร พื้นที่ดังกล่าวกระจักกระจายอยู่ในทุกหมู่บ้าน ทำให้เกษตรกร และกลุ่มเยาวชนยินมหันมาเลี้ยงปลามากขึ้น  ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาทับทิม และปลาตะเพียน
อุตสาหกรรม
          ภายในตำบลบือมัง ไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ประเภทแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าว จำนวน 3 แห่ง
  

หมู่ที่ 1 บ้านตะโละเลาะ

เริ่มแรกของหมู่บ้านนี้ตระกูลราชวงศ์ๆ หนึ่งของมลายูซึ่งมีนามว่าต่วนโตะนิซึ่งท่านเข้ามาบุกเบิกป่าที่เป็นป่าทึมมากและเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งท่านได้เชิญชวนราษฎร และทหารไปกับพระองค์เพื่อช่วยกันถางป่าที่ทึบมากจนดูแล้วรู้สึกสบายตา ต่อมามีราษฎรมาตั้งถิ่นฐานและทำมาหากินในป่าแห่งนี้ จากนั้นได้มีผู้มาอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  พื้นที่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายอ่าว ก็เลนตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า หมู่บ้านตะโละเลาะซึ่งคำว่า ตะโละ  แปลว่า อ่าว ส่วนคำว่า เลาะ เป็นชื่อที่ของผู้ที่หาพื้นที่แห่งนี้ให้กับท่าน ต่วนโต๊ะนิ  ตั้งแต่วันนั้นมาทุกคนต่างก็เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่าหมู่บ้าน ตะโละเลาะ จนถึงปัจจุบัน
จำนวนประชากร
          หมู่บ้านตะโละเลาะมีจำนวนประชากรทั้งหมด 863 ราย เป็นชาย 425 ราย  เป็นหญิง 438 ราย มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 171 ครัวเรือน มีพื้นที่ 4,687   ไร่
สภาพเศรษฐกิจ
          สภาพเศรษฐกิจของหมู่ที่ 1 ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพกรีดยางเป็นอาชีพหลัก  และอาชีพที่รองลงมา  เช่น  อาชีพปักจักร การเลี้ยงปลาดุก การทำหมากแห้ง
-     รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 28,000 บาท/คน/ปี
-     ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในชุมชนได้แก่ ผลไม้ ข้าวเปลือกและยางพารา
-     ผลผลิตแปรรูปการทำหมากแห้ง
-     ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนและมีเส้นทางการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบาย 
การเกษตร
          ด้านพืช   เช่น ยางพารา  ข้าว
          ด้านไม้ผล   เช่น  ลองกอง  ทุเรียน  มะพร้าว  ฯลฯ
          ด้านปศุสัตว์  เช่น  วัว  แพะ  สัตว์ปีก
          ด้านการประมง      เลี้ยงปลา
          ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว

สถานที่ราชการ
          โรงเรียนบ้านเจาะบือแม   ตั้งอยู่หมู่ที่ บ้านตะโละเลาะ     เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที 6

สถานที่ประกอบศาสนกิจ
          - มัสยิด 2 แห่ง
          - สุเหร่า 1 แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว
v      น้ำตกตะวันทอแสง
v      เนินเขาบาโงโฆง
v      ลำธารหม๊ะ
กลุ่มองค์กร
·       กลุ่มสตรีบ้านตะโละเลาะ 
·       กลุ่มเยาวชนช่างเชื่อมเหล็ก
หมู่ที่ บ้านบือมัง

ประวัติชุมชน
          บือมังเป็นตำบลหนึ่งใน 16  ตำบลในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา  ประวัติความเป็นมาของบือมัง  คือ คำว่า บือมัง หรือ บูแม  นั้นเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง  มีลำต้นขนาดใหญ่  ใบสีเขียวค่อนข้างใหญ่  มีดอกเป็นแฉกๆออกตามฤดูกาล  ปัจจุบันต้นไม้ชนิดนี้ยังคงมีอยู่ในตำบลบือมัง  จึงได้เรียก  บูแม    ในทางราชการเรียกว่า  บือมัง
ลักษณะภูมิประเทศ
          ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา   และที่ราบสูงตามเทือกเขากาลอเป็นป่าสงวน มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีน้ำตก  ลำธาร  การใช้ประโยชน์ส่วนมากจะใช้ในการปลูกต้นไม้ยืนต้น เช่น  ยางพารา  สวนผลไม้   และการทำนา
จำนวนประชากร
          จำนวนประชากรของหมู่ที่ 2 มีทั้งหมด 1,300  คน   แบ่งเป็น
          เพศชาย   658  คน
          เพศหญิง  642  คน
รวม  271  ครัวเรือน
อาชีพของประชากรในหมู่บ้าน
          - ทำสวนยาง
          - ทำนา
          - ทำสวนผลไม้
          - ค้าขาย

สภาพทางเศรษฐกิจ
- ชาวบ้านสวนใหญ่ทำสวนยางพารา   สวนผลไม้ เป็นสวนผสม
- การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้าน เช่น วัว แพะ  เป็ด และไก่
- รายได้เฉลี่ย 28,500 บาท/คน/ปี
- ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในชุมชนได้แก่ ผลไม้ ข้าวเปลือก  
และยางพารา
- ผลผลิตแปรรูปการทำหมากแห้ง
- ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนและมีเส้นทางการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบาย 
- มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน
- มีร้านค้าชุมชน
สภาพทางสังคม
- สภาพบ้านเรือนมีลักษณะทีมั่นคง
 ถาวร  มีการจัดบ้านที่ถูกสุขลักษณะ
 ครอบครัวมีความอบอุ่น
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน
- หมู่ที่ 2 บ้านบือมังมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
- เป็นหมู่บ้านที่ปลอดอบายมุข และการพนัน
- เป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลผู้นำชุมชนดีเด่นประจำปี 2545
สถานที่ราชการ
          ตำบลบือมังมีสถานที่ราชการ  แห่ง
          - โรงเรียนบ้านบือมัง
          - สำนักงานบริหารราชการตำบล
สถานที่ประกอบศาสนกิจ
          - มัสยิด 1 แห่ง
          - สุเหร่า 3 แห่ง
การเกษตร
          ด้านพืช   เช่น  ยางพารา   ข้าว
          ด้านไม้ผล   เช่น   ลองกอง  เงาะ  ทุเรียน   กล้วย  มะพร้าว  ฯลฯ
  
 กลุ่มอาชีพชุมชน  หมู่ที่ 2 บ้านบือมังได้มีการรวมกลุ่มคือ
1. การทำขนมทองพับทองม้วน  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีบ้านบือมัง โดยใช้ ช่วงเวลาว่างที่เสร็จจากอาชีพหลัก ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนละเป็นผลิตภัณฑ์ที่  ผลิตจากคนในชุมชน
2. การทำเห็ด เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเยาวชนได้รวมกลุ่มกันเพื่อจัดทำกลุ่มขึ้นมา เป็นการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนที่ยังไม่มีอาชีพทำ เป็นการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนและสามารถสร้างรายได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
3. กลุ่มเลี้ยงปลาดุก
กิจกรรมเลี้ยงปลาดุกเป็นกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนพลังสีขาวที่รวมตัวกันเพื่อทำการเลี้ยงปลาดุก
เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่เยาวชนและสามารถใช้เวลาว่างที่อยู่ให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน                            
4. กลุ่มเลี้ยงเป็ดและไก่  เป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเยาวชนในกลุ่ม เนื่องจากสามารถนำไข่เป็ดมาขายให้กับคนในชุมชนได้ทุกวัน
 
  
แหล่งน้ำธรรมชาติ
1. ลำห้วยบาลางิ  อยู่ในหมู่ที่ แยกจากลำธารหม๊ะ มีการสร้างฝายขนาดเล็กกันลำน้ำไว้เพื่อประโยชน์ต่อการเพาะปลูกและพื้นที่นาประมาณ  200  ไร่

หมู่ที่  บ้านดูซงตาวา

          หมู่ที่  ที่ชื่อว่า  บ้านดูซงตาวา จากการเล่าของผู้เฒ่าในพื้นที่  ได้มีทหารเดินทางมาในพื้นที่ตำบลบือมัง เพื่อมาตามหาช้างเผือกเพื่อมาประดับบารมีของพระองค์ การเดินทางของทหารเหล่านั้นก็ดำเนินต่อไปจนมาถึงบริเวณหนึ่ง ที่เป็นป่าเต็มไปด้วย  ผลไม้นานาชนิด และในป่าแห่งนี้ก็มีต้นทุเรียนซึ่งมีลักษณะใหญ่มากแต่ด้วยความเหนื่อยและหิวโหยของทหารเหล่านั้น จึงตัดสินใจปีนต้นทุเรียนเพื่อเอาลูกทุเรียนมากินแต่พวกเขาพบว่ารสชาติของทุเรียนนั้นจืดมากไม่มีรสหวานเหมือนทุเรียนทั่วๆไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกที่นี้ว่า
ดูซงตาวา”   จนถึงปัจจุบันซึ่งแปลว่า สวนจืด  สวน  แปลว่า ดูซง     จืด   แปลว่า    ตาวา 
ประชากร
หมู่ที่  บ้านดูซงตาวา มีประชากรทั้งหมด  1,025  คน    208  ครัวเรือน 
           เพศชาย  513  คน  และเพศหญิง  512  คน 
สถานที่ราชการ  ไม่มีสถานที่ราชการ
การประกอบอาชีพ
          ประชากรส่วนใหญ่  กรีดยาง  เป็นอาชีพหลัก  รองลงมาคือ  ทำสวน  ทำนา  เลี้ยงสัตว์ วัว  แพะ

แหล่งน้ำธรรมชาติ     ลำห้วยบีโล๊ะ อยู่ในหมู่ที่ 3 ตามแนวหมู่บ้านใช้น้ำในการทำนาในพื้นที่ประมาณ 150 ไร่
กิจกรรมกลุ่มชุมชนบ้านดูซงตาวา
1. ร้านค้าชุมชน
2. กองทุนหมุนเวียนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดูซงตาวา
3. อุปกรณ์จัดงานเลี้ยง (เต้น โต๊ะ  เก้าอี้)
กลุ่มแม่บ้านดูซงตาวาสามัคคี  หมู่  ตำบลบือมัง  จัดตั้งเมื่อปี พ..2543  มีสมาชิกทั้งหมด  17 ราย  ดำเนินการในลักษณะมีคณะกรรมการบริหารกลุ่ม  ปี พ..2543  ส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดในงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา  ได้รับรางวัลชมเชยจากกล้วยหินฉาบ
          กิจกรรมของกลุ่ม
          1. ฝากเงินออมทรัพย์เดือนละ  30  ต่อราย
          2 .แปรรูปกล้วยหินฉาบ
          3 .แปรรูปอาหารจากแป้ง
          4 .แปรรูปผลผลิตตามฤดูกาล
สถานที่ประกอบศาสนกิจ
- มัสยิด 2 แห่ง
- สุเหร่า 2 แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
1. น้ำตกฉัตรมงคล 2
2. น้ำตกเปาะแอรอ
สภาพทางเศรษฐกิจ
- ประชาชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพกรีดยางเป็นส่วนใหญ่
- มีการทำนา ปีละ 1 ครั้ง
- รายได้เฉลี่ย 25,000 บาท/คน/ปี
- มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน
- มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกครัวเรือน

หมู่  บ้านมาแฮ

        ชุมชนบ้านมาแฮ มาจาก ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งบริเวณรอบชุมชนแห่งนี้จะเต็มไปด้วยต้นมาแฮ  ลักษณะของต้นมาแฮจะมีลำต้นใหญ่เป็นพิเศษ ส่วนใบจะมีขนาดใหญ่เท่าฝาท้าวช้างส่วนใหญ่ต้นมาแฮจะขึ้นกลางชุมชนจึงเรียกชุมชนนี้ว่าชุมชนบ้านมาแฮบ้านมาแฮมีเนื้อที่ประมาณ 137.22  ไร่ 
ประชากร
มีประชากรทั้งหมด 1,167  คน เป็นชาย 574 คน หญิง 593 คน มีทั้งหมด246 ครัวเรือนนับถือศาสนาอิสลาม100%
แหล่งน้ำธรรมชาติ
-     ลำห้วยบ้านตะโละเกียะ  ใช้ประโยชน์ในการทำนา  เป็นส่วนใหญ่
-     บึงวอจิ  ได้พัฒนาขุดเป็นสระมาตรฐานเป็นแหล่งกักเก็บน้ำใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่ประมาณ  400  ไร่

สภาพเศรษฐกิจ
-     การเกษตรกรรม  ด้านพืชคือปลูกยางพาราเพราะเป็นรายได้กลัก  รองรองลงมา  ปลูกสวนผลไม้
-     ด้านปศุสัตว์  สวนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อขายและบริโภคเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว  เช่น  เลี้ยง  ไก่  วัว  ควาย  แพะ  และแกะ
-     การประมง  ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงปลาน้ำจืด  โดยการเลี่ยงในบ่อดิน  ซึ่งได้รับการสนับสนุนการขุดบ่อจากสำนักงานเกษตรในหมู่บ้าน
-     มีโรงสีขาวในชุมชน จำนวน 1 แห่ง
-     ปัจจุบันกิจกรรมเด่นในหมูที่  คือ  ธนาคารหมู่บ้าน  (ตามแนวพระราชดำริเริมทำการก่อตั้งเมื่อปี  2544  ประธานคือนายมะหะมะคูซะรี  ซิละกง
หมู่บ้านตัวอย่างตามแนวทาง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          ชื่อหมู่บ้าน บ้านมาแฮ (ตะโละเก๊ยะ) หมู่ที่ 4 ตำบล บือมัง  อำเภอรามัน จังหวัด ยะลา
ประชากร : ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน แยกเป็นชาย 515คน หญิง 514 คน
สภาพภูมิประเทศ  เป็นที่ราบสูง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หมอตำแย การทำเสื่อกระจูด นวดแผนโบราณ
วัฒนธรรมประเพณี   วันฮารีรายอ งานแต่งงาน งานเข้าสุนัต  ขึ้นบ้านใหม่
การประกอบอาชีพ  : อาชีพหลัก กรีดยาง
                         อาชีพรอง  ทำสวน ทำนา
                         รายได้เฉลี่ย  30,000 บาท/คน/ปี
จุดเด่น/ความเข้มแข็งเชิงศักยภาพ/ข้อได้เปรียบของหมู่บ้าน
หมู่ 4บ้านตะโละเกี๊ยะเป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง และเป็นหมู่บ้านที่มีผู้นำที่มีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการพัฒนาชุมชน
จุดด้อย/ปัญหา/อุปสรรค/ข้อบกพร่องของหมู่บ้าน
ปัญหาของหมู่ที่ 4 จะมีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้นำหมู่บ้าน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน ทำให้ปัญหาบางเรื่องไม่สามารถแก้ไขได้
ธนาคารหมู่บ้านชุมชนพัฒนาบ้านมาแฮ(ตามแนวพระราชดำริ)  ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลบือมัง  เป็นสถาบันการเงินของหมู่บ้าน ที่ไม่ใช้โครงสร้างระบบดอกเบี้ย แต่เอาหลักการระบบธนาคารมาเสริมสร้างสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ อันก่อให้เกิดการลงทุน
กิจกรรมกลุ่ม
          - ดำเนินงานรับฝากเงินจากสมาชิก
          - ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน โดยการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์
             ตามที่สมาชิกมี ความประสงค์
          - ก่อสร้างอาคารสำนักงาน
          - จำหน่ายปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ด้านการเกษตร
          - จัดสร้างกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนยากจน และคนพิการ
          - แบ่งเงินปันผลในแต่ละปีให้กับสมาชิก

กลุ่มอาชีพ/กิจกรรม/โครงการดำเนินการในหมู่บ้าน
1.  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมูฏอรอบะห์
ผลการดำเนินงานของกลุ่ม/จุดเด่นของกลุ่มดำเนินการในลักษณะกลุ่มมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มครบดำเนินการในลักษณะเครือข่ายของธนาคารหมู่บ้านกลุ่มเกษตรกรมู     ฎอรอบะห์ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนชุมชนเพื่อสังคม (SIF) ในฐานะกลุ่มเครือข่ายธนาคารหมู่บ้านจำนวน  160,000  บาท เพื่อจัดซื้อพสดุอุปกรณ์แปรรูป  และ ได้รับงบประมาณจากกรรมการ
ส่งเสริมการเกษตร ในวงเงิน 20,000บาทและ  ในปัจจุบันกลุ่มมูฏอรอบะห์ได้รับงบประมาณจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ผลิตอาหารแปรรูปจากส้มแขก ขนนเค้ก   บอระเพ็ด

  
2. กลุ่มธนาคารหมู่บ้านเกษตรกรมูฏอรอบะห์  ตั้งอยู่ ม. 4  ดำเนินงานตั้งแต่ปี  พ.. 2532  ปัจจุบันมีสมาชิก  ประมาณ  300   ราย มีเงินทุนหมุนเวียน  1,034,247  บาท ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนชุมชนเพื่อสังคม (SIF) ปี 2543  จำนวน 567,5000 บาท
           กิจกรรมของกลุ่ม
1.ดำเนินงานรับฝากเงินจากสมาชิก
2.ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน โดยการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์
 ตามที่สมาชิกมีความประสงค์
3.จัดตั้งร้านค้าสาธิตของชุมชน
4.ก่อสร้างอาคารสำนักงานธนาคาร
5.สนับสนุกลุ่มเลี้ยงปลาและกลุ่มแม่บ้านหมู่4โดยใช้งบประมาณจากกองทุนชุมชนเพื่อสังคม  (SIF)
6.จำหน่ายปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ด้านการเกษตร
7.สร้างเครือข่ายธนาคารหมู่บ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
8.จัดสร้างกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยากจน เด็ก และคนพิการ    
 
3.. จุดสาธิตการจัดการองค์กรการเงิน
4.. จุดสาธิตการเลี้ยงปลาน้ำจืดและเพาะพันธ์ขยายพันธ์ปลา
5.. จุดสาธิตการเลี้ยงสัตว์
  
สภาพทางเศรษฐกิจ
- ประชากรมีรายได้หลักการทำกรีดยางพารา  ทำสวน
- มีเลี้ยงสัตว์ วัว แพะ  เป็ด ไก่ เป็นเศรษฐกิจในครัวเรือน
- ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 30,000 บาท/คน/ปี
- ครัวเรือนมีการออมร้อยละ 85
- สถานะทางครอบครัวอยู่ในฐานะที่ดี
- ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงปลาในบ่อดิน
 สภาพทางสังคม
- บ้านเรือนมีความคงทนถาวร และมั่นคงและมีการจัดระเบียบถูกสุขลักษณะ  ครอบครัวมีความ     อบอุ่น
- ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง
- มีการออมเงินเป็นภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในระดับภาคบังคับทุกคน
- ส่งเสริมให้บุตร  หลานเรียนในระดับที่สูง
- ประชากรในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง


หมู่ที่  บ้านปงตา

        วันหนึ่งได้มีพระองค์หนึ่ง  เป็นตระกูลราชวงศ์  ของมาลายู  ได้ทราบข่าวจากชาวบ้านว่า  ได้มี  ช้างเผือก  ได้ปรากฏในป่าละแวกนี้  ซึ่งสมัยก่อนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์  มีต้นไม้ใหญ่ ๆ  หลาย
ชนิด  เป็นเชิงเขา  และเป็นป่าทึบ  ทำให้พระสนสนใจ  และดำริ  ให้ทหารไปหาช้างเผือก  เพื่อที่จะประดับบารมี  เมื่อทหารได้รับคำสั่ง  จึงเดินทางออก  เข้ามาในพื้นที่  ก็ได้ชักชวนในชาวบ้านช่วยกันถางป่าเพื่อทำเป็นที่ทำกินของประชาชน  และขบวนของพระองค์ก็ได้เดินทางไปเรื่อย ๆ
          ครั้นมาถึง  ณเขตพื้นที่  ของหมู่บ้านปงตา  ซึ่งสมัยนั้นได้มีต้นตาลขึ้นกระจ่ายไปทั่วเขตนี้  เมื่อขบวนของพระองค์  มาถึงก็หยุดเพื่อพักผ่อน  ก็เอ่ยว่า  พงตา  ซึ่งเป็นคำภาษามาลายู  พงตา  เป็นชื่อ  ต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง  หรือเรียกภาษาไทย  ก็คือ  ต้นตาล  กระทั่งมีราษฎรหลั่งไหลเข้ามาตั้ง  รถราก  อยู่จำนวนหนึ่ง 
พูดปากต่อปาก  บวกกับความเจริญเข้ามา  อาทิ  มีการจัดตั้งสถานศึกษาแห่งแรกของตำบลบือมัง  คือโรงเรียนบ้านพงตา  ต่อมา คำว่าพงตา  ก็ได้ถูกเอ่ยคำว่าพงตา  ลือลั่นไปทั่ว  ก็เกิดคำแผล  กลายเป็น  ปงตา  จนถึงปัจจุบัน 

สภาพภูมิศาสตร์ 
          บ้านปงตา มีเนื้อที่  ทั้งหมด 2,187 ไร่  จำนวนประชากรทั้งหมด 617 คน  ชาย 290 คน  หญิง 327 คน  รวมครัวเรือน 137 ครัวเรือน
สภาพเป็นที่ลุ่ม  เหมาะแก่การเพาะปลูก  ทำสวนพืช  ทำนา  เลี้ยงสัตว์  เลี้ยงปลา  ไม่มีภูเขาใหญ่

อาชีพของประชากร
          อาชีพหลัก  คือทำสวนยางพารา  รองลงมาคือ  ทำนา  และเลี้ยงสัตว์

สถานที่ราชการ
  -  องค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง                -  สถานีอนามัยตำบลบือมัง
  โรงเรียนบ้านปงตา

กิจกรรมชุมชน
1. กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้า
2. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์กลุ่มสตรี
3. จัดทำบ่อน้ำเพื่อการเกษตร
4. กลุ่มสตรีทำมะพร้าวคั่ว
5. โรงสีข้าวชุมชน
6. กองทุนหมู่บ้าน

การเกษตร
- ทำสวนผสม  โดยการปลูกส้มโชกุน  มะนาว  ทุเรียน  ลองกอง
- ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวให้เป็นเศรษฐกิจของครัวเรือน
- ทำนา


หมู่ที่  บ้านปีแยะ

        หมู่  สมัยก่อนสภาพของดินจะเป็นดินเหนียว  เฉอะแฉะ  เปียกอยู่เสมอ    และคำว่า  เปียก  นั้น 
ได้เพี้ยนไปเป็นคำว่า  ปีแยะ  จนถึงปัจจุบัน   มีเนื้อที่ทั้งหมด 
2,373  ไร่  (ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่แยกออกมาจากหมู่ที่  2)
ประชากร       
ประชากรส่วนใหญ่จะมีพื้นพังเดิมอยู่ในพื้นที่  ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ  กรีดยาง  เป็นอาชีพกลัก 
ทำนา  และทำสวนผลไม้  ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม  โดยมีศาสนสถาน  คือมัสยิด เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน  และวัฒนธรรมประเพณีเป็นไปในรูปแบบของศาสนา
การประกอบอาชีพ
ด้านปศุสัตว์
          จะเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน  เพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้เสริมในครอบครัว  เช่น  เลี้ยงวัว  ไก่  แพะ  ควาย  แกะ  ไก่  เป็ด  เป็นต้น
จำนวนครัวเรือน
 มีทั้งหมด  168  หลังคาเรือน  ประชากรทั้งหมด  770  เพศชาย  361  คน   เพศหญิง  409  คน
สถานที่สำคัญ
- มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  แห่ง 
- มัสยิดจำนวน  แห่ง
- สุเหร่า 1 แห่ง
กิจกรรมชุมชน
-                   กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าคลุมผม
-                   จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์


แหล่งท่องเที่ยว
- น้ำตกตะวันรัศมี  หรือปาโจดูซงตือรง สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ หมู่ที่ตำบลบือมังมีต้นกำเนิดจากเทือกเขากาลอ ที่น้ำตกมีสุขาบริการ ที่จอดรถสะดวกสบาย มีศาลาที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
สภาพทางเศรษฐกิจ
- ประชากรมีรายได้หลักการทำกรีดยางพารา  ทำสวน
- มีเลี้ยงสัตว์ วัว แพะ  เป็ด ไก่ เป็นเศรษฐกิจในครัวเรือน
- ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 27,000 บาท/คน/ปี
- สถานะทางครอบครัวอยู่ในฐานะที่ดี
- ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว
 สภาพทางสังคม
- บ้านเรือนมีความคงทนถาวร และมั่นคงและมีการจัดระเบียบถูกสุขลักษณะ  ครอบครัวมีความอบอุ่น
- ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในระดับภาคบังคับทุกคน
- ส่งเสริมให้บุตร  หลานเรียนในระดับที่สูง
- ประชากรในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง
- ชุมชนอยู่กันอย่างเอื้ออารีต่อกัน
ความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ
   -  ประชากรส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลืองาน  หางานให้ทำภายในจังหวัดจำนวน  193  (ร้อยละ 24.8 ) มากที่สุด  รองลงมา คือ ต้องการความช่วยเหลือด้าน สนับสนุนอาชีพการเกษตร   จำนวน  182 (ร้อยละ 23.4 )  โดยที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความต้องการช่วยเหลือที่เหมือนกัน
   -  จัดสรรงบประมาณในการประกอบอาชีพและทำธุรกิจขนาดย่อม.
   -  หน่วยงานของรัฐเน้นการปลูกผักในครัวเรือนโดยทางหน่วยงานให้ความช่วยเหลือเยื้องต้นสำหรับครัวเรือนที่ต้องการนำร่อง
   - หาแหล่งตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ภายในชุมชน
   - ส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเยาวนรุ่นใหม่
   - ตลาดแรงงานสำหรับผู้ที่ว่างงาน
  ปัญหาและแนวทางแก้ไข
   - ปัญหาด้านขาดรายได้
   - ปัญหาการว่างงาน
   - ปัญหาขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ
   - ขาดโอกาส/ขาดความรู้
   - ไม่มีทุน
   - ขาดศักยภาพในการพัฒนาองค์กร
   - การประกอบอาชีพเสริม
   - ทักษะในการทำงาน/ประกอบอาชีพ
   - หน่วยงานจัดฝึกอาชีพให้กับชุมชน
  แนวทางแก้ไข
  - ส่งเสริมรายได้โดยการหาตลาดรองรับอย่างจริงจัง
  - ส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้ที่ว่างงานตามแต่ความถนัดของบุคคลนั้นๆหรือกลุ่มนั้นๆ
  - ส่งเสริมด้านความรู้ในการประกอบอาชีพ
  - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับประชากรในชุมชนเพื่อใช้ในการทำอาชีพเสริม
  - รวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาสัมพันธ์อำเภอ

เรื่องเด่น............วันนี้

ข่าวด่วน.....วันนี้